welcome to Yala Provincial Livestock Office

ภาพข่าวกิจกรรมของหน่วยงาน ✧*:・゚✧ ☆゚.*・。゚ *:・゚★ ★。・ 。・:・゚☆ 。

➤ Infographic องค์ความรู้

➤ หลักการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

➤ ข้อมูลสถิติการให้บริการประชาชน

➤ เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

➤ ประมวลภาพกิจกรรม 5 ส : ประจำปีงบประมาณ 2567 (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)

➤ สำหรับเจ้าหน้าที่

➤ สถิติผู้เข้าชม

276073
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
77
403
480
272808
7868
22762
276073

Your IP: 18.227.21.105
2024-05-20 04:16

➤ กำลังออนไลน์

มี 104 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

เช้าวันนี้(18 มกราคม 2559) นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา เครือข่ายบริการฯ ให้การต้อนรับนายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ซึ่งให้เกียรติมาเป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) และการอบรม โครงการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร ณ โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลาเปิดเผยว่า ด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทยปัจจุบันเต็มไปด้วยความเร่งรีบ ผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้น และไม่มีเวลาหุงหาอาหารให้ครอบครัว ทางเลือกคือ การฝากท้องไว้กับอาหารนอกบ้านและพึ่งอาหารสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาดและศูนย์การค้า โดยมีกล่องโฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหารหาซื้อได้ สะดวกและราคาถูก จึงเป็นภาชนะที่พ่อค้า แม่ค้านิยมนำมาใช้บรรจุอาหารอย่างแพร่หลาย กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป เป็นของเสียเหลือทิ้ง สีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีสารสไตรีน (Styrene) เป็นองค์ประกอบ เ ป็นอันตรายต่อร่างกาย และประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศขึ้นบัญชีเป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อปี ๒๕๕๘ ได้ประกาศเลิกใช้โฟมบรรจุอาหารทั่วประเทศ

จากการสำรวจมูลฝอยประเภทโฟม โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖ พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก ๓๔ ล้านใบ/วัน เป็น ๖๑ ล้านใบ/วันหรือเฉลี่ยคนไทยสร้างมูลฝอยประเภทโฟมเพิ่มขึ้นคนละ ๑ ใบ/คน/วัน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้กำหนด เรื่อง ขยะมูลฝอย เป็นวาระแห่งชาติที่ให้ทุกภาคส่วนต้องถือปฏิบัติและให้ความร่วมมือในการลดปริมาณมูลฝอย โดยเฉพาะมูลฝอยประเภทกล่องโฟมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ กล่าวคือต้องใช้เวลาย่อยสลายประมาณ ๔๕๐ ปี และจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า เมื่อนำกล่องโฟม(Polystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูงเกิน ๗๐ องศาเซลเซียส และมีไขมัน เมื่อสัมผัสกับโฟมที่บรรจุอาหาร อาจทำให้มีสารเคมีจากโฟมปนเปื้อนสู่อาหารได้ เช่น สารสไตรีน เบนซิน ทาเลท ซึ่งกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภค เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก สมองเสื่อมมีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ทำให้เป็นหมัน หญิงมีครรภ์อาจทำให้เกิดลูกที่มีอาการดาวน์ (Down syndrome )

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลากล่าวต่อไปว่าเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในจังหวัดยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร “Yala say no to foam” ได้ดำเนินการ ดังนี้

๑. มีประกาศจังหวัดยะลาเรื่อง การลด ละ และเลิกการใช้โฟม(Polystyrene) บรรจุอาหารลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อขอความร่วมมือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร หรือจัดสถานที่ปลอดโฟมNo Foamและส่งเสริมสนับสนุนการใช้วัสดุ หรือภาชนะที่ทำจากธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและย่อยสลายได้

๒. มีการลงนาม MOU กับหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทุกแห่ง เรียบร้อยแล้ว

๓. ขอความร่วมมือและเชิญชวนส่วนราชการ สถานศึกษา รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคม ชมรมผู้ประกอบค้าอาหาร และองค์กรภาคเอกชน ร่วมลงนาม MOU เพื่อรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร

การจัดลงนาม MOU และ อบรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำกรมอนามัย และมีการออกบูธแสดงผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากบริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด และบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด(มหาชน) กรุงเทพมหานคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา